รัชกาลที่ ๗ และรัชกาลที่ ๘ ไม่พบหลักฐานว่าได้เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรวัดอัมพวันฯ เหมือนรัชกาลก่อนๆ แต่ก็เผอิญในรัชกาลน้ันๆ มีเหตุการณ์ไม่เรียบร้อยในแผ่นดิน เช่น การเศรษฐกิจตกต่ำในรัชกาลที่ ๗ จนถูกคณะราษฎร์ปฎิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง และต้องสละราชสมบัติเสียก่อน รัชกาลที่ ๘ ก็ถูกลอบปลงพระชนม์ ยังไม่ได้ทันบรมราชาภิเศก ดังนี้เป็นต้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดผ้าพระกฐินต้น ที่วัดนี้เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๑ มีประชาชนชาวเมืองสมุทรสงครามมาเฝ้าชมพระบารมีแน่นขนัดสองฝั่งแม่น้ำแม่กลอง และแน่นวัดอัมพวันเจติยาราม ยังเป็นภาพประทับใจชาวเมืองสมุทรสงครามอยู่ไม่รู้ลืม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปลูกต้นโพธิ์ไว้ต้นหนึ่งที่บริเวณหน้าพระอุโบสถ สมเด็จพระบรมราชินีนาถได้ทรงปลูกต้นจันทน์ไว้ต้นหนึ่งแทนต้นเก่าที่ตายไป ณ. บริเวณพระปรางค์ ด้านทิศตะวันตก ต้นไม้ท้ังคู่นี้จะเป็นต้นไม้ในประวัติศาสตร์คู่กับวัดต่อไปชั่วกาลนาน
ในคราวเสด็จพระราชดำเนินเมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๑ นั้นมีข้าราชบริพารและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ตามเสด็จด้วยเป็นอันมาก อาทิเช่น นายพจน์ สารสิน, พลตำรวจเอกหลวงชาติตระการโกศล, พลตำรวจโทประชา บูรณะธนิต, นายฟุ้ง ศรีวิจารณ์ เป็นต้น นอกจากนั้น ท่านเจ้าคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ก็ได้ไปรอรับเสด็จอยู่ด้วย สมัยนั้น นายชาติ อภิศลย์ บุณยรัตพันธุ์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม
ในคราวเสด็จพระราชดำเนินคร้ังน้ันเอง ท่านเจ้าคุณพระอัมพวันเจติยาภิบาล (เจริญ ขันติโก) เจ้าอาวาสวัดอัมพวันฯ ได้ทูลถวายพระพรถึงเรื่องประวัติของวัดนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสดับด้วยความสนพระราชหฤทัยเป็นอันมาก รับสั่งว่า "เขียนสิ รู้อะไรก็เขียนไว้..." และนี่เองเป็นมูลเหตุของการเขียนประวัติวัดนี้ ท่านเจ้าคุณพระอัมพวัน ได้มีจดหมายเรียกผู้เขียนไปพบและปรารภว่า "มองไม่เห็นใคร ขอให้ช่วยเขียนประวัติวัดนี้ด้วย จะพิมพ์แจกในงานทอดกฐินพระราชทาน ปรารถนาที่สุดในชีวิตก็คือ อยากจะเห็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งเป็นกษัตริย์ชาวสมุทรสงคราม ประสูติที่บริเวณวัดนี้ ได้สร้างขึ้นเป็นอนุสาวรรีย์ที่เคารพสักการะของชาวเมืองนี้สืบไปภายหน้า" ผู้เขียนจึงรับปากว่าจะเขียนเรื่องนี้ให้ด้วยความเต็มใจ
พูดถึงเรื่องสมภารวัดอัมพวันเจติยารามนี้ พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช รับสั่งไว้ในพระราชหัตถเลขาว่า "แต่ก่อนมาเป็นวัดราชาคณะอยู่เสมอ แต่ได้โทรมเข้าเลยโทรมไม่ฟื้น เพราะไม่มีใครยอมไปอยู่ การที่ไม่ยอมไปอยู่นั้น เห็นจะเป็นด้วยปราศจากลาภผล ไม่เหมือนวัดบ้านแหลม และวัดพวงมาลัย ซึ่งได้ผลประโยชน์ในทางขลังต่างๆ แต่ด้วยเหตุที่ไม่มีสมภารดีๆนี่ จนราษฎรในคลองอัมพวา ก็พากันไปทำบุญเสียทีวัดปากน้ำ ลึกเข้าไปข้างใน การที่จะแก้ไขไม่ให้ร้าง ไม่มีอย่างอื่น นอกจากหาสมภารที่ดีมาไว้.."
คร้้งน้ันเมื่อเสด็จกลับได้โปรดเกล้าฯ ตั้งพระครูมหาสิทธิการ(แดง) วัดบ้านแหลม เป็นพระราชาคณะที่พระมหาสิทธิการ ไปเป็นสมภารวัดอัมพวันเจติยาราม
รายนามเจ้าอาวาสวัดอัมพวันเจติยาราม ซึ่งเป็นพระราชาคณะโดยมาก คือ
๑. พระวินัยมุนี(บัว) ผู้สร้างวัดปทุมคณาวาส และวัดท้ายหาด
๒. พระวินัยมุนี (น้อย)
๓. พระราชศรัทธาโสภิต (ศรี)
๔.พระสนิทสมณคุณ (เนตร)
๕. พระมหาสิทธิการ (แดง)
๖. พระมหาสิทธิการ(ถมยา)
๗. พระครูสมุห์ฮ้อ
๘.พระครูอัมพวันเจติยาภิบาล (ลิบ)
๙. พระอัมพวันเจติยาภิบาล (เจริญ ขนติโก) เจ้าอาวาสวัดอัมพวันเจติยารามตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๗๕ จนถึงปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๐๖
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น